วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่6 วันที่ 6 เดือนธันวาคม พ.ศ 2555



วันนี้เริ่มเข้าบทเรียนโดย อาจารย์พูดเรื่อง การเล่น และให้นักศึกษานำกล่องที่เตรียมมา ขึ้นมาทำกิจกรรม
การเล่นแบบอิสระ
คือ การที่เด็กได้เลือกและตัดสินใจเอง เพราะจะทำให้เด็กละความเครียด ไม่กังวนเรื่องถูกผิด และมีความสุขในการเรียน
การยกตัวอย่างด้วยกล่อง
ที่เลือกกล่องเป็นสื่อในการสอน เพราะ ความสะดวก หาได้ง่าย และประหยัดเป็นวัสดุเหลือใช้
กล่องสามารถสอนอะไรในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                         1.             การนับ
                         2.             สามารถนำตัวเลขมากำกับในการนับ
                         3.             การจับคู่กล่องที่มีขนาดเท่ากัน
                         4.             การวัดเพื่อหาค่า
                         5.             การเปรียบเทียบ โดยการจับคู่ 1 ต่อ 1
                         6.             การเลียงลำดับ
รูปแบบการนำเสนอ
1.             หาข้อมูล เพื่อทำกราฟ
2.             ทำกราฟ เพื่อเปรียบเทียบ
การสอนจากกล่อง
1.             ครูสามารสอนตามแบบ และสอนแบบอนุกุล เช่น กล่องที่มีลักษณะเป็น รูปสี่เหลี่ยมสามเหลี่ยม และวงกลม แล้วให้เด็กเลียงตามแบบที่ครูทำไว้เป็นตัวอย่าง
2.             การจัดประเภท  เช่น การจัดประเภทกล่องของกินและที่ไม่ใช่กล่องของกิน
3.             สามารถตั้งคำถามจากกล่องได้ เช่น นักเรียนนำกล่องมาทั้งหมดกี่ใบ
4.             การแบ่งครึ่ง เช่น  การนำกล่องไปใช้กับศิลปะ โดยการหยิบออก 1 ต่อ 1 คือ หยิบกล่องวไว้ทางซ้ายมือ 1 กล่อง และขวามือ 1 กล่อง เด็กจะได้เห็นการแบ่งครึ่งของกล่องทั้งหมดที่มีจำนวนเท่าๆกัน
ทำไมต้องใช้กล่องในการสอนคณิตศาสตร์
เพราะกล่องมีขนาดแตกต่างกัน สามารมองเห็นได้ชัดและกล่องยังมีมิติทำให้มีมุมมองแตกต่างกันที่สำคัญเพื่อให้เด็กมีประสบการณ์
กิจกรรมในห้องเรียน
ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มล่ะ 10 และทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ทำงานโดยการวางแผน
กลุ่มที่ 2 ทำงานโดนการนำเสนอ
กลุ่มที่ 3 ทำงานโดยต่างคนต่างคิดใช้ความเป็นอิสระในการตัดสินใจ

กลุ่มที่ 1
ที่ขุดเจาะน้ำมัน


  กลุ่มที่ 2
รถแท็กเตอร์ 2013


กลุ่มที่ 3
หุ่นยนต์โรโบ้

สัปดาห์ที่5 วันที่29 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ2555



 ก่อนเข้าบทเรียนอาจารย์พูดถึง มาตรฐาน
 มาตรฐานคืออะไร
 มาตรฐานก็คือ ความน่าเชื่อถือ
 จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาร่วมกันออกมาพูดตัวอย่างแผนการสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรบเด็กปฐมวัย ต่อจาก  สัปดาห์ที่แล้ว โดยมีตัวอย่างดังนี้
        1.             การนับ
การจำลองนับสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์ โดยมีสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ปีก
จากการสอนหน่วยนี้ เด็กจะได้ทะกษะในการนับจำนวน เมื่อนับจำนวนก็จะได้ตัวเลขที่ต้องการ
        2.             การจับคู่
ให้นักเรียนจับคู่ระหว่าสัตว์บกกับสัตว์น้ำ ว่ามีทั้งหมดกี่คู่
เด็กจะได้รู้จักจำนวนคู่ และจำนวนคี่ คือ ถ้าจับคู่ลงตวก็จะได้จำนวนคู่ แต่ถ้าจับคู่ไม่ลตัวก็จะได้จำนวนคี่
        3.             การจัดประเภท
ให้นักเรียนแยกประเภทของสัตว์บกและสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์บก แล้วนับจำนวนสัตว์ว่ามี่ทั้งหมดกี่ตัว
เด็กจะได้รู้จักการแยกประเภทของสัตว์บก และที่ไม่ใช่สัตว์บก
        4.             การเปรียบเทียบ
ให้นักเรียนเปรียบเทียบระหว่าสัตว์บก และสัตว์น้ำว่ามีจำนวนต่างกันกี่ตัว
ควรเลือกยกตัวอย่างสัตว์เพียงประเภทเดียว เพื่อที่เด็กจะได้ไม่สับสน
          5.             การจัดลำดับ
ให้นักเรียนเลียงลำดับสัตว์ที่เตี้ย ไปหาสัตว์ที่สูงที่สุด
เด็กจะได้ รู้จักการวัด เมือได้ค่าแล้วเด็กจะได้รู้จักการเปรียบเทียบ แล้วจึงจะเรียงลำดับจาดเตี้ยไปสูงได้
         6.             รูปทรงและเนื้อที่
ให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า ช้างควรอยู่ในพื้นที่แบบใด และใช้หญ้าปูพื้นที่กี่แผ่น (ครูมีแบบจำลองให้เด็ก)
คำตอบ ช้างอยู่ในพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัด และปูหญ้า 12 ผืน
         7.             การวัด
ครูยกตัวอย่างสัตว์มา สองชนิด คือ ยีราฟ กับ  ม้า ให้โกวัดสัตว์ทั้งสองด้วยยตาเปล่า จกนั้นจึงใช้สายวัดเพื่อจะได้จำนวนจริง
นอกจาก
จะสอนเรื่องการวัดความยาวแล้ว ยังสามารถปรับการสอนได้อีก เช่น การนับจำนวนมัดหญ้าที่สัตว์มั้งสองกิน
       8.             เซต
ให้นักเรียนจัดตู้ปลา แล้วในตู้ปลาควรมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
เด็กจะได้ ตู้ปลาจำนวน 1 เซต  
       9.             เศษส่วน
ให้นักเรียนแบ่งสัตว์แบ่งสัตว์ออกเป็น 4 ส่วน เท่าๆกัน
      10.      การทำตามแบบหรือลวดลาย
ให้นักเรียนเลียงลำดับตามแบบที่ครูกำหนดให้
เช่น เลียงสัตว์เล็กไปหาสัตว์ให้โดยครูทำเป็นแบบไว้
      11.      การอนุรักษ์หรือการคงที่ของปริมาน
นำแม่พิมพ์รูปสัตว์ต่างๆมา จากนั้นนำทรายใส่ขวด เพื่อตวงแล้วเทลงไปในแม่พิมพ์ที่มีขนาดไม่เท่ากัน แล้วดูว่าทรายมีขนาดแตกต่างกันมากน้องเพียงใด
      12.      ตัวเลข
ให้นักเรียนนับจำนวนสัตว์ว่ามีทั้งหมดกี่ตัว แล้วเขียนเป็นตัวเลขให้ถูกต้อง
ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ใช้แทนค่า


รูปขณะที่ร่วมกันทำกิจกรรม




วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 4 วันที่22 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ. 2555

           วันนี้อาจาารย์เริ่มการสอนโดย แจกกระดาษ A4 แล้วแบ่งออกเป็น 4 ส่วน จากนั้นให้วาดรูปอะไรก็ได้เพื่อเป็นสัญญาลักษณ์ของตัวเอง และเขียนชื่อลงไปข้างล่างรูป
            กิจกรรมในห้อง
             ให้นัศึกษาที่มาเรียนก่ิน เวลา 08.30 นำรูปวาดตัวเองมาติดไว้หน้ากระดาษ เปรียบเที่ยบว่าใครมาก้อน มาหลัง โดยใช้เวลาเป็นเกณฑ์ แล้วเลียงลำดับมาก้อนหลัง
  1. สุทัศนีย์ มาถึง 08.00 น.
  2. จารุวรรณ มาถึง 08.02 น.
  3. รัตติยา  มาถึง  08.12 น.
  4. คริษฐา มาถึง 08.12 น.
  5. สุกัญญา มาถึง 08.14 น.
  6. ภรณ์ไพลิน มาถึง 08.15 น.
  7. ทิวาภรณ์ มาถึง 08.15 น.
  8. ประทุม มาถึง 8.29 น.   
  • ตัวเลขจะแทนลำดับที่
  • ตัวเลขใช้แทนค่่จำนวน
  • ทำให้เราทราบว่าคนที่มาก่อน 08.30 มีจำนวน 8 คน
   การอ่านลำดับ
  • จำนวนนักศึกาาที่เข้าเรียนก่อน 08.30 น. มีจำนวน 8 คน คนที่มาคนที่ 1 คือ สุทัศนีย์
 ถ้ามี 3 คน เช่น สุทัศนีย์ มาถึงเป็นคนที่ 1
                         สุกัญญา มาถึงเป็นคนที่ 2
                         ประทุม  มาถึงเป็นคนที่ 3 
อ่านลำดับได้ดังนี้
  •  สุทัศนีย์ มาถึงเป็นคนที่ 1 ประทุม  มาถึงเป็นคนที่ 3 และ  สุกัญญา มาถึงเป็นคนที่ 2 มาหลังสุทัศนี ย์แต่มาก่อน ประทุม
ขอบข่ายคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
นิตยา ประพฤติกิจ  2541:17 - 19
  1. การนับ (Counting) การนับที่ได้จำนวน คือ การได้ค่ามาก น้อย  เมื่อจำนวนเพิ่มขึ้นใช้เครื่องหมาย (+)เมื่อจำนวนลดลงใช้เครื่องหมาย(-) นอกจากการนับรู้ค่ายังมีการนับด้วยปากป่าว
  2. ตัวเลข (Number) 
  3. การจับคู่ (Matching)  ใช้ทักษะการสังเกต สังเกตรูปร่างและความเหมืน ได้แก่ รูปทรง จำนวน การจับคู่
  4. การวัดประเภท ประเภทสิ่งของที่ไม่เหมือนกัน
  5. ก่รเปรียบเทียบ (Comparing) การเปรียบเทียบโดยดูลักษณะการกระประมาณสิ่งของ โดยการดูด้วยตา เมื่อใช้ส์่อกับเด็กควรใช้เป็นของจริงแล้วค่อยเปลี่ยนมาเป็ภาพ ได้แก่ เครื่องมือที่เป็นทางการ เช่น ไม่บันทัด สายวัด และเครื่องมือที่ไม่เป็นทางการ เช่นการวัดด้วยมือ 
  6. การจัดลำดับ เช่น การเรียงลำดับจากน้อยไปมาก
  7. รูปทรงและเนื้อที่ 
  8. การวัด (Measurement) เมื่อมีการวัด จะได้ค่า จำนวน และปริมาณ
  9. เซต คือ การจัดกลุ่มโดยอาศัยการเชื่อมโยง
  10. เศษส่วน (Fraction) ต้องรู้ค่าและจำนวนว่ามีเท่าไหร่
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย  เช่น การเขียนตัวเลข
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้วยปริมาณ เช่น การเทนำ้ใส่แก้วที่มีรูปทรง ขนาดแตกต่างกันน แต่มีปริมาณนำ้เท่ากัน แล้วให้เด็กสังเกตว่าปริมาณนำ้เท่ากันหรือไม
กิจกรรมในห้องเรียน
ให้นักศึษาจับคู่ 2 คนแล้วร่วมกันคิดแบบทดสอบเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  1. ให้นักเรียนนับจำนวนเพื่อนในห้องว่ามีกี่คน
  2. เมื่อนับจำนวนเพื่อนทุกคนให้นักเรียนเขียนลงใน ช่องว่างให้ถูกต้อง
  3. ให้นักเรียนจับคู่เพื่อนชาย และเพื่อนหญิง เป็นคู่ๆละ 2 คน
  4. ให้นักเรียนจับกลุ่มสองกลุ่มโดยให้นักเรียนที่ใสกระโปรงอยู่ด้วยกันและนักเรียนที่ใส่กางเกงอยู่ด้วยกัน
  5. ให้นักเรียนเปรียบเที่ยบลักษณะความอ้วน ผอมของเพื่อนในห้อง แล้วยืนเลียงตามลำดับจากผอมไปอ้วน
  6. ให้นักเรียนต่อแถว ชาย และ หญิง เรียงลำดับจากสูงไปเตี้ย
  7. ให้นักเรียนยืนบนกระดาษ เอ 4 แล้วมองดูว่าเหลือพื้นที่น้อยหรือมาก
  8. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเท่าๆกัน โดยอยู่คนล่ะฝั่ง แล้วให้เด็กๆวัดระยะห่างระหว่างกลุ่มว่าห่างกันจำนวนกี่ก้าว
  9. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มระหว่าง ผู้ชาย และผู้หญิง
  10. ให้นักเรียนจับคู่ระหว่างชาย กับหญิง แล้วดูว่าเหลือเศษกี่คน
  11. ให้นักเรียนวาดภาพตัวเอง ส่งในกระดาษที่แจกให้
  12. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 2 กลุ่มเท่าๆกันโดยให้กลุ่มที่ 1 เอามือแตะไหลกันเป็นแถว และให้กลุ่มที่2 ท้าวใส่เอวยืนเป็นแถวแล้วให้นักเรียนบอกจำนวนว่าเท่ากันหรืไม่

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่3 วันที่ 15 เดือนพฤษจิกายน 2555

           อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละรรม 3 คน ให้บอกความหมายของคณิตศาสตร์แล้วสรุปให้ได้เพียงความหมายเดียว โดยนำของเพื่อนในกลุ่มมาอ่านร่วมกันแล้วสรุปช่วยกัน
     จุดประสงค์ของการทำงานในกลุ่ม
- เวลาอ่านและฟัง จะทำให้เราอิงกับสิ่งนั้น
- เมื่ออ่านแล้วต้องวิเคราะห์ออกมาได้

      ความหมายของคำว่า คณิตศาสตร์
คำว่าคณิตศาสตร์มาจากสองคำ คือ คำว่าคณิต +ศาสตร์ คณิตคือการนับหรือการคำนวณและศาสตร์คืดความรู้และการศึกษาซึ่งรวมกันมีความหมายทั่วไปว่าการศึกษาเกี่ยวกับการนับ การคำนวณการประมาณ
     จุดมุ่งหมายทางคณิตศาสตร์
การจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจมีทักษะในการคิด การนับ การคำนวณและการตัดสินใจที่สามารถนำไปแก้ปัญหาที่เกิดขึ้่นตลอดจนการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมค่านิยมอันดีงาม
  
     ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
  1. ทฤษฎีการฝึกฝน นักทฤษฎเชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้โดยการเรียนรู้ซ้ำๆ
  2. ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้โดยบังเอิญ นักทฤษฎ๊เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ดีต้องเกิดความพร้อม
  3. ทฤษฎแห่งความหมาย นักทฤษฎีเชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อเด็กได้เรียนรู้ในสิงที่มีความหมายต่อตนเอง
  4. ทฤษฎีการเชื่อมมโยง มีกฎเกณฑ์การเรียนรู้สามกฎ ได้แก่
    4.1 กฎของการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำๆ
    4.2 กฎแห่งผลกรรม
    4.3 กฎแห่งความพร้อม
  5. ทฤษฎเสริมแรง
  6. ทฤษฎีฝึกสมอง
  7. ทฤษฎีการสรุป
  8. ทฤษฎีการอยากรู้
  9. ทฤษฎีการผ่อนคลาย
  10. ทฤษฎีการสอนแบบธรรมชาติ

    ขอบข่ายทางคณิตศาสตร์ 
    1. การนับ เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่หนึ่งถึงสิบหรือมากกว่านั้น
    2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กได้รู้จักตัวเลข
    3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เดก็ได้รู้จักการสังเกต
    4. การจัดประเภท
    5. การเปรียบเทียบ
    6. การจัดลำดับ
    7. รูปทรงและเนื้อหา เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ความกว่างและแคบ
    8. การวัด มักให้เด็กลงมือด้วยตนเอง
    9. เซ็ต
    10. เศษส่วน
      วิธีการนำเด็กเข้ากลุ่มโดยต้องมีกติกา เช่นตบมือหนึ่งครั้งให้เด็กยืนตรง ตบสองครั้งให้เด็กไปที่กลุ่ม ตบสามคั้งทุกดคนต้องอยู่ในกลุม เป็นต้น
      ภาษาทางคณิตศาสตร์ คือเครื่องมือในการสื่อสาร 

      เพลงเลือกเด็กเข้ากลุ่ม

      กลุ่มไหน กลุ่มไหน
      รีบเร็วไว หากลุ่มพลัน
      อย่ามัวรอช้า เวลาจะไม่ทัน
      ระวังจะเดินชน กันเข้ากลุ่มพลันว่องไว

สัปดาห์ที่ 2 ว้นที่8เดือนพฤษจิกายน 2555

อาจารย์ได้ชี้แจงขั้นตอนเกี่ยวกับการสร้างบล็อกที่สมบูรณ์
        ทบทวนก่อนเรียน
เทคนิคในการแบ่งกลุ่มให้ได้ 2 กลุ่มมีวิธีการแบ่งกลุ่มดังนี้
สามารถทำได้ด้วยการนับ 1,2 แล้วจะได้ 2 กลุ่ม ตามที่เราต้องการ
หรือทำได้โดยการเขียนตัวเลขลงไปในกระดาษ แล้วนำมาจับฉลาก โดยเขียนเลข 1,2 ลงไปเช่นเดิม
       ลักษณะสิ่งของที่เกี่ยวกันคณิตศาสตร์ 
หน้าต่างและประตู = รูปทรง
เงินในกระเป๋า = จำนวน
หลอดไฟ = จำนวน ,รูปทรง
กระเป๋า = จำนวน,รูปทรง,น้ำหนัก,ขนาด
     คาามหมายของรูปทรง
คือ ภาพที่เห็นเป็นสามมิติ
     การคำนวน
ยกตัวอย่างเช่น ความสั้นความยาว ของ A กับ B โดยที่ A ที่ยาวกว่า 3 ชิ้น แล้ว B สั้นกว่า 3 ชิ้น เมื่ออยากให้เท่ากันก็นำมาต่อกัน โดยนำ Bมาต่ออีก3 ชั้น และถ้าเด็กโตก็สามารถเพิ่มจำนวนได้อีกจากน้อยไปมาก
    สื่อที่นำมาสอนเด็ก
        สือที่นำมาสอนเด็กควรเป็นวัสถุที่สำผัสได้ เป็นวัสถุที่เสมือนจิง ต่อมาสามารถเปลี่ยนจากวัสถุที่สัมผัสได้เป็นรูปภาพ 1 มิติ หรือ 2 มิติ ก็ได้
เด็กสามารถตอบหรือคิดอะไรได้โดยใช้สัมผัสเดิม โดยไม่ใช่การดูภาพ แสดงว่าเด็กมีเหตุผล เด็กอายุ 4-6ปี ใช้เหตุผลในการคิดโดยอาศัยประสบการณ์เดิม และไม่ใช่ตอบโดยการมองเห็นด้วยตา
        การที่เด็กจะใช้ตัวเลขได้ก็เพราะเด็กใช้เหตุผล เช่น เลข 6 คือเลขที่ใช้แทน จำจวน ค่า เช่น น้าน 6 หลัง กระดาษ6 แผ่น หนังสือ 6 เล่ม
        พฤติกรรมของเด็ก 0-2 ปี เด็กจะสนใจสิ่งรอบตัวโดยการใช้มือหยิบจับสิ่งของรอบตัว สรุปคือ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 

พฤติกรรมของเด็ก> การใช้ประสาทสัมผัส> สมองเริ่มซึมซับ> สะสมประสบการณ์เดิม +ประสบการณ์ไหม่ >ความรู้ใหม่> การรับรู้ >เกิดการเรียนรู้

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่1 วันที่1 เดือนตุลาคม 2555

เป็นวันเรียนวันแรกของภาคเรียนที่2  อาจารย์ได้ชี้แจงการเข้าเรียนและการเช็กชื่อของนักนักศึกษา โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่า ถ้านักศึกษาเข้าห้องเรียนหลังเวลา 09.00 น. ถือว่าเข้าเรียนสาย แต่ถ้าเข้าหลัง09.15 น. ถือว่าขาดเรียน และอาจารย์ก็พูดถึงการแต่งกายของนักศึกษาว่าการแต่งการมีผลต่อการให้คะแนนและมีผลต่อการออกฝึกสอน นักศึกษษควรแต่งการให้ถูกต้อง และยิ่งเราเรียนครูควรเป็นแบบอย่างที่ดี

         จากนั้นอาจารย์ก็เริ่มเพูดเข้าถึงบทเรียน โดยให้นักศึกษาได้ร่วมกันคิดและแสดงความเห็นร่วมกัน
อาจารย์ได้ให้เทคนิกการจำและนำไปสอน คือ ถ้าเราไม่สามารถจำได้หมดให้จำหัวข้อเด่นๆไว้ แล้วค่อยไปเปิดดูตำราอีกครั้ง เช่น การดูแลเด็ก5ขวบก็กลับไปดูว่าหัวข้อคืออะไรแล้วก็อ่านหัวข้อนั้นอย่างละเอียดและทำความเข้าใจกับงานที่ได้รับมอบหมายนั้น
         อาจารย์ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำว่าการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าในความคิดความเข้าใจของนักศึกษาเป็นอย่างไรให็แสดงความคิดเห็นคนล่ะ 2 ข้อ 
ยกตัวอย่างในความเข้าใจของของดิฉันคือ
1. การรูจักตัวเลขและการนับเลขจาาก 1-10
2.การท่องจำเลข1-10และพูดออกมาเป็นคำพูด โดยในตอนแรกอาจจะยังจำไม่ได้หมด และยังสลับกันแต่นานไปก็จะจำได้เอง
        อาจารย์ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าจากที่เราดู เราคาดว่าจะได้เรียนรู้ในเรื่องใด
ยกตัวอย่างในความเข้าใจของของดิฉันคือ
1. ได้ทักษะการเล่นเกมเกี่ยวกับตัวเลข
2. ได้รู้วิธีการนำวิชาที่เรียนไปปรับใช่กับเด็กอนุบาล

      จากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงเท็กนิกต่างๆ และบอกความหมายในเรื่องต่างๆ ได้แก่
ทักษะ คือ ความชำนาญ
ทักษะ จะเกิดขึ้้นเมื่อเราทำบ่อยๆ  เช่น การอ่าน เมื่ออ่านเยอะก็จะเกิดทักษะ การเขียน การสังเกต
วุฒิภาวะ คือ พัฒนาการ+ ประสยการณ์ 
พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เช่น พลิกตัว คืบ คาน เดิน นั่ง วิง 
วิธีการเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การลงมือทำโดยใช้ประสาทสำมผัสทั้ง5 ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น กาย
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถแบ่งหัวข้อย่อยได้ 3 หัวข้อ คือ
- การจัดประสบการณ์
-  คณิตศาสตร์
-  เด็กปฐมวัย