และวันนี้เราก็รู้สึกสนุก มีความสุขกับการเรียนในวันนี้มาก เพราะได้รับความรู้ เทคนิควิธีการสอนเด็กๆ มากมาย ซึ่งทำให้เรามีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งจะได้เป็นครูที่ดีในอนาคต ที่จะสอนเด็กๆที่เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์เล็กๆ ให้เติบใหญ่กลายเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์และแข็งแรงตลอดไป
วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
สัปดาห์ที่ 14 พฤหัสบดี ที่ 31 มกราคม 2556
วันนี้อาจารย์ให้สาธิตการสอนในหน่วยที่นักศึกษาเขียนแผนการสอนมา เช่น หน่วยดิน หน่วยน้ำ หน่วยต้นไม้ และหน่วยหมอเป็นต้น ซึ่งเพื่อนๆก็ได้ออกมาสาธิตเนื่องจากเป็นครั้งแรกและกลุ่มแรก ทักษะหรือวิธีการสอนจึงยังไม่สมบูรณ์ อาจารย์ก็ช่วยแนะนำ เทคนิควิธีการสอนให้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้นิสิตนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องถูกวิธี และเมื่ออาจารย์อธิบายเสร็จแล้วเราก็มีความเข้าใจในวิธีที่จะสอนเด็กมากขึ้น จากที่งง งง ทึบๆ ก็สว่างขึ้นมาเลย เพื่อนกลุ่มแรกที่นำเสนอ หน่วยดิน ก็ใช้เวลาหมดชั่วโมงเรียนพอดี อาจารย์เลยให้กระดาษมาคนละหนึ่งแผ่น ให้นักศึกษาที่นั่งฟังและดูเพื่อนที่สาธิตการสอนหน้าห้องเรียน ว่าได้รับความรู้อะไรบ้างจากที่เพื่อนสาธิตให้ฟังและดู โดยอาจารย์ให้เวลาเขียน 10 นาที ถ้าหมดเวลาทุกคนต้องวางปากกาจากมือทันที ห้ามเขียนต่อเด็ดขาด จากนั้นเวลาที่ให้มาสิบนาทีก็หมดไป เราและเพื่อนๆปล่อยปากกากันทันที บางคนมือก็ยังติดกับปากกาอยู่จนอาจารย์เตือนอีกทีค่อยวาง และอาจารย์ก็เช็คชื่อพร้อมตรวจเครื่องแต่งกาย และพวกเราก็ทำความเคารพก่อนกลับ
และวันนี้เราก็รู้สึกสนุก มีความสุขกับการเรียนในวันนี้มาก เพราะได้รับความรู้ เทคนิควิธีการสอนเด็กๆ มากมาย ซึ่งทำให้เรามีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งจะได้เป็นครูที่ดีในอนาคต ที่จะสอนเด็กๆที่เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์เล็กๆ ให้เติบใหญ่กลายเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์และแข็งแรงตลอดไป
และวันนี้เราก็รู้สึกสนุก มีความสุขกับการเรียนในวันนี้มาก เพราะได้รับความรู้ เทคนิควิธีการสอนเด็กๆ มากมาย ซึ่งทำให้เรามีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งจะได้เป็นครูที่ดีในอนาคต ที่จะสอนเด็กๆที่เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์เล็กๆ ให้เติบใหญ่กลายเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์และแข็งแรงตลอดไป
สัปดาห์ที่13พฤหัสบดี ที่ 24 มกราคม 2556
วันนี้อาจารย์มีธุระต้องทำ เลยไม่สามารถสอนเต็มเวลาได้ สำหรับเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ อาจารย์ก็ได้สอนถึงการเขียนแผนการสอนที่จะนำมาสาธิตในห้องเรียนในสัปดาห์ถัดไป ว่าควรเขียนอย่างไรจึงจะถูกต้องและเหมาะสม แล้วอาจารย์ก็กล่าวถึงประสบการณ์สำคัญของเด็กๆด้วยว่าเป็นอย่างไร เป็นต้น
และก่อนอาจารย์จะไปทำธุระ ก็ได้มอบหมายให้นักศึกษาไปเขียนแผนการสอน ตามที่กล่าวไว้ แล้วให้นำมาสาธิตในห้องเรียนในสัปดาห์หน้า
สัปดาห์ที่ 12 วัน พฤหัสบดี ที่ 17 มกราคม 2556
กิจกรรมการเรียนการสอน
- อาจารย์ได้มอบหมายงานให้อ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คนละ 1 เรื่อง
- สร้างกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับหน่วยสาระที่ตัวเองสร้างขึ้น Present 24 มกราคม 2556
- สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ปฐมวัย
สาระที่ 1 : จำนวนและกสนดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
Ex. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยมีตะเกียบเป็นสื่อในการเรียนรู้
การสอนเลขฐานสิบ
หนึ่งขีด แทนจำนวนตะเกียบหนึ่งอัน
** เด็กๆจะเรียนรู้ได้ดีจากการลงมือกระทำกับวัตถุ **
** การที่ครูจะจัดกิจกรรมใดๆให้กับเด็กๆก็ตาม ต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
มีผลกระทบกับเด็ก เช่น กิจวัตรประจำวัน **
- สาระสำคัญ + ประสบการณ์สำคัญ = การจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆ
- สิ่งสำคัญในการจัดการเรียนการสอน
1. สาระสำคัญ
2. ประสบการณ์สำคัญ
3. บูรณาการ
- พัฒนาการเป็นเป้าหมาย ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก
สรุปองค์ความรู้ที่เรียนในวันนี้
จากการจัดกิจกรรมข้างต้น เด็กเกิดการคิดรวบยอด (concept) ว่า "ตัวเลขหลักหน่วยจะเพิ่มขึนเรื่อยๆ เมื่อจำนวนนั้นครบ 10 ถ้าครบ 10 แล้วก็ปัดจำนวนไปหลักข้างหน้าเสมอ"
สัปดาห์ที่่ 11 วันพฤหัสบดี ที่ 10 มกราคม 2556
วันนี้อาจารย์พูดถึงเนื้อหาสาระที่เริ่มเรียนในวันนี้ก็มีการทบทวนการทำแผนผังความคิดหรือที่เราๆมักเรียกกันว่า Mind Mapping นั่นเอง ว่าผังความคิดนั้นสามารถทำให้เราได้ทราบถึงสาระสำคัญของเรื่องนั้นๆ แล้วยังสามารถแตกออกไปเป็นประเด็นย่อยๆ ได้ อีกหลายประเด็น ซึ่งในขณะที่ทำผังความคิดนั้นเราก็ได้ใช้ความคิด วิเคราะห์ไปด้วย และครูยังสามารถสอนให้เด็กๆคิดวิเคราะห์ได้เช่นกัน แล้วยังได้ทราบถึงพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยว่า มีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไปอย่างไรบ้าง
จากนั้นคุณครูก็ได้นำแผนผังความคิดที่้นักศึกษาทำมาส่ง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก เช่น เรื่องต้นไม้ ครอบครัว หมอ น้ำ ผม เป็นต้น ซึ่งครูก็ได้อภิปรายร่วมกับนักศึกษา และได้แนะนำในส่วนที่ไม่สมบูรณ์ของแผนผังความคิดว่าต้องเพิ่มเติมเนื้อหาอะไรเข้าไปอีก แล้วครูก็ได้สอนเกี่ยวกับมาตรฐานของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรืออักษรย่อว่า สสวท. ซึ่งมีทั้งหมด 6 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานแรก จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐานที่สอง การวัด
มาตรฐานที่สาม เรขาคณิต
มาตรฐานที่สี่ พีชคณิต
มาตรฐานที่ห้า การวิเคราะห์ข้อมูลหรือความน่าจะเป็น
มาตรฐานที่หก ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
และท้ายชั่วโมงเรียนคุณครูก็มอบหมายงานเกี่ยวกับการนำมาตรฐานทั้ง 6 ของ สสวท. มาประยุกต์ใช้กับสาระสำคัญในการนำไปสอนเด็กๆ เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ พร้อมเน้นย้ำว่า ในการสอนเด็กนั้นต้องให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับของจริงเสียก่อน จากนั้นค่อยสอนเกี่ยวกับภาพและการใช้สัญลักษณ์
ภาพกิจกรรมวันนี้
นี่คือแผนผังความคิดที่พวกเราช่วยกันทำค่ะ |
แผนผังความคิด |
แผนผังความคิด |
สัปดาห์ที่ 10 วันพฤหัสบดี ที่ 3 มกราคม 2556
วันนี้อาจารย์สอนการวัดหาพื้นที่่่ โดยใช้เครื่องมือในการวัด เช่น กระดาษสี่เหลี่ยม ขนาด 4*4 6*6 และ 8*8 โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างให้ดู จากการวัดทีวี จากนั้นก็ได้มอบหมายให้ทำงานเป็นคู่มาส่งในสัปดาห์ต่อไป
สัปดาห์ที่ 9 วันพฤหัสบดี ที่ 27 ธันวาคม 2555
ความหมาย ความสำคัญของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
คณิต" หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ "คณิตศาสตร์" หมายถึง วิชาว่าด้วยการคำนวณหรือตำราคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถาปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆปัจจุบันนี้คณิตศาสตร์ได้เข้ามามีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์มากเราจะพบว่าทั้งเด็กเเละผู้ใหญ่จะใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาในชีวิตประจําวันอยู่ตลอดเวลา ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น การอ่านราคาสินค้า การซี้อขายสินค้าการบอกเวลา เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสฅร์ให้ดี และฐานต้องยิ่งขึ้นเพื่อที่จะได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คณิตศาสตร์เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้ปกครองและครูให้ความสนใจ คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ว่าด้วยนามธรรม ที่อาศัยสัญลักษณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแทนนามธรรม ภาษาคณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจโลก และสรรพสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับ ปริมาณ จำนวน ตำแหน่ง มิติ และเวลา การเรียนรู้คณิตศาสตร์ จึงจำเป็นต้องเริ่มจากการเข้าใจสัญลักษณ์เหมือนกับการเรียนภาษาพูด ตัวเลขจึงเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดที่เราต้องทำให้เด็กเข้าใจให้ได้ มิใช่ทำให้เด็กจดจำตัวเลขให้ได้ ด้วยการท่อง 1- 10 หรือเขียนตัวเลขได้ การทำซ้ำๆ โดยใช้สิ่งของใกล้ตัว ของจริง ลองนับ จับคู่จำนวนกับตัวเลข ทำบ่อยๆ จนเกิดความแม่นยำ จะจดจำได้นาน เมื่อเด็กเข้าใจจำนวนและตัวเลขแล้วจึงค่อยเสนอกฏเกณฑ์ที่ใช้กับตัวเลขเหล่านั้นโยงให้เห็นความหมายระหว่างตัวเลข เครื่องหมาย ที่แทนจำนวน ปริมาณที่มีอยู่ และเปลี่ยนไป กฏเกณฑ์นี้ต้องค่อย ๆ ไต่ไปตามลำดับ จากง่ายไปสู่ซับซ้อน การทำซ้ำ ทำให้เกิดวงจรในสมอง จนเกิดความแม่นยำ ทำให้มีความเข้าใจในกระบวนการของคณิตศาสตร์ชัดเจนเด็กปฐมวัยเรียนรู้คณิตศาสตร์มิใช่เฉพาะเรื่องจำนวน และตัวเลข เด็กสามารถที่จะเรียนรู้ได้ดีด้วยการสังเกต เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของที่มากกว่าหรือน้อยกว่า สั้น-ยาว สูง- ต่ำ ใหญ่-เล็ก หนัก-เบา ลำดับ เพิ่ม-ลด หรือแม้แต่ปริมาตรมาก-น้อย ของสิ่งที่บรรจุในภาชนะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องหรือของจริงใกล้ตัว เด็กจะเห็นเป็นรูปธรรมทำให้เข้าใจได้ง่ายทำอย่างไรให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็ก ซึ่งแน่นอน อะไรที่สนุก เด็กต้องชอบ ดังนั้นความสนุกจึงเป็นแรงจูงใจที่วิเศษ การเรียนรู้คณิตศาสตร์จากเกม ปริศนาต่างๆ ที่ท้าทาย และไม่ยากเกินวัยเด็ก สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน มองเห็นจากของจริง เด็กจะเข้าใจง่าย สนุกสนานและประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ การเรียนรู้ บนพื้นฐานของอารมณ์ที่สนุกและชอบ...ย่อมเพิ่มพลังในการเรียนรู้แหล่งที่มา : จรรยาพร ยอดแก้ว ศึกษานิเทศก์ สพท.นครปฐม เขต 1 แหล่งที่มา :http://www.techno.bopp.go.th/
รวบรวม : นางสาวรชตวรรณ ศิริรัตน์
ความสำคัญของคณิตศาสตร์สมทรง ดอนแก้วบัว (2528 : 8-12) ได้สรุปความสำคัญของคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้1. ความเป็นผู้มีเหตุผล ในการเรียนการสอนวิชาเรขาคณิต เราต้องใช้เหตุผลมาพิสูจน์โดยใช้ทฤษฎีมาประกอบการพิสูจน์ตามขั้นตอน คุณลักษณะเช่นนี้จะทำให้ผู้เรียนคณิตศาสตร์เป็นผู้ ที่มีเหตุผล2. ความเป็นผู้ที่มีนิสัยละเอียดถี่ถ้วน สุขุมรอบคอบ การเรียนคณิตศาสตร์จะมีการทำแบบฝึกหัด จะทำให้ได้ฝึกฝนความละเอียดถี่ถ้วนและสุขุมรอบคอบ จากการต้องใช้เหตุผล3. ความเป็นผู้ที่มีไหวพริบและปฏิภาณที่ดีขึ้น การทำโจทย์แบบฝึกหัดในวิชาคณิตศาสตร์จำเป็นต้องอาศัยเทคนิคต่าง ๆ หลายอย่างที่จะนำมาพิสูจน์หาคำตอบ4. เป็นการฝึกพูดและเขียน เมื่อผู้เรียนคณิตศาสตร์ได้คิด แก้ปัญหาตามขั้นตอน วิธีการทางคณิตศาสตร์แล้วก็จะได้พูด เขียน เสนอแนะเหตุผลที่ตนได้ลองผิดลองถูกจนหาคำตอบได้5. เป็นการฝึกใช้ระบบและวิธีการ การเรียนคณิตศาสตร์ เรียนโดยฝึกความละเอียด รอบคอบตามระเบียบแบบแผนและวิธีการ ซึ่งเป็นระบบและวิธีการที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันอรุณี จันทร์ศิลา (2536 : 8) ได้สรุปความสำคัญทางคณิตศาสตร์ไว้ว่า คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญยิ่ง เป็นเรื่องการเรียนรู้กลุ่มประสบการณ์ต่าง ๆ ในอันที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้ถูกต้องเสียตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐาน
แหล่งที่มา http://www.krooo.com/areework/2.doc
รวบรวม : นางสาวรัชนี บุตรวาปียุพิน
พิพิธกุล (2519 : 1) ได้สรุปความสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ไว้ว่า คณิตศาสตร์เป็นสิ่งสร้างสรรค์จิตใจ คำว่าคณิตศาสตร์ไม่ใช่หมายความเพียงตัวเลข ซึ่งเกี่ยวกับจำนวนต่าง ๆ และการคำนวณ คณิตศาสตร์มีความหมายมากกว่าพีชคณิตที่จะศึกษาเพียงรูปร่างและขนาด มีความหมายมากกว่าตรีโกณมิติซึ่งเกี่ยวกับการวัดระยะทาง มีความหมายมากกว่าวิชาสถิติ และวิชาแคลคูลัส ฯลฯซึ่งสรุปได้ดังนี้1. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไม่ หรือเกือบจะเป็นจริง ด้วยวิธีการคิดจะทำให้เราสามารถแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมและอื่น ๆ คณิตศาสตร์ทำให้คนที่รักวิชานี้ กลายเป็นคนอยากรู้อยากเห็น2. คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม สัญลักษณ์ที่รัดกุม สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด เช่น อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด สมการ 3+5 = 8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน คือใช้แทนความคิด เรา ไม่ต้องคิดมากว่าจะอ่านอย่างไร พอเห็นเราก็ทราบ ยิ่งไปกว่านั้น เราใช้อักษรแสดงความหมายแทนความคิดนี้ (ideograms) เป็นเครื่องมือที่จะใช้ฝึกทางสมอง ซึ่งสามารถช่วยเราให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การพิสูจน์ที่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งถ้าเราใช้ภาษาธรรมดาก็ไม่สามารถที่จะทำได้3. คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมของความรู้ โครงสร้างของคณิตศาสตร์บางทีก็คล้ายกับโครงสร้างของปรัชญา และศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนา เพราะเป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล ซึ่งเริ่มต้นด้วยอนิยาม จุด เส้น ระนาบในเชิงเรขาคณิต ซึ่งจะอธิบายข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญ เราจะเห็นว่าในวิชาเรขาคณิตก็มีเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เห็นจริงแล้ว สัจพจน์ คุณสมบัติ กฎ ซึ่งทำให้เกิดความคิดที่จะเป็นรากฐานในการที่จะพิสูจน์เรื่องอื่นต่อไป4. คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผน ที่ว่ามีแบบแผนนั้น หมายความว่าจะต้องคิดอยู่ในแบบแผน หรือความคิดที่ตั้งไว้ เช่น คลื่นวิทยุ โครงสร้างของโมเลกุล ฯลฯ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีแบบแผนของมัน ที่จะจำแนกได้ในทางคณิตศาสตร์5. คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกับศิลปะแขนงอื่น ๆ ความงามของคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความมีระเบียบ และความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน นักคณิตศาสตร์พยายามแสดงออกถึงค่าสูงสุด ของความคิดและความสัมพันธ์ การสำรวจความคิดใหม่ ๆ ทางคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งท้าทายให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
แหล่งที่มา http://gotoknow.org/blog/kru-dutsadee/294221
รวบรวม : นางสาวนงนุช พรมบุตร
ความสำคัญของคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นนอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
แหล่งที่มาhttp://mathssrinarongpit.blogspot.com/2007/09/blog-post.html
รวบรวม : นางสาวสาวิตรี ศรีสังวรณ์
การจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนกลุ่มคณิตศาสตร์ ผู้เกี่ยวข้องควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ กระบวนการเรียนรู้ควรจัดให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลรวมทั้งวุฒิภาวะของผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดคำนวณพื้นฐาน มีความสามารถในการคิดในใจ ตลอดจนพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ได้อย่างเต็มศักยภาพการจัดเนื้อหาสาระให้แก่ผู้เรียนโดยคำนึงถึงความยากง่าย ความต่อเนื่อง ลำดับขั้นตอนของเนื้อหา รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ทั้งความรู้และทักษะกระบวนการ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ได้ทั้งทางคณิตศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจำวัน ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การเชื่อมโยงความรู้ และการเสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นั้น ทำได้หลายวิธี และต้องคำนึงถึงลำดับขั้นของการเรียนรู้โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์จริง รวมทั้งปลูกฝังนิสัยในการรักในการศึกษาและแสวงหาความรู้ทางคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง- การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนการสอน รวมทั้งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้และมีความรู้ทางคณิตศาสตร์พื้นฐานที่สำคัญและจำเป็น ทั้งนี้ ควรให้การสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถดำเนินการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนให้เป็นไปอย่างมีศักยภาพ- การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เกิดขึ้นได้ทุกเวลา สถานที่ ควรมีการ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและบุคคลทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคณิตศาสตร์ เช่น สถานศึกษา โรงเรียน บ้าน สมาคม ชมรม ชุมนุม ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนคณิตศาสตร์สร้างสรรค์ ห้องกิจกรรมคณิตศาสตร์ หรือห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ มุมคณิตศาสตร์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
แหล่งที่มา วิไลรักษ์ บุญงาม นักศึกษาปริญญาโท สาขาหลักสูตรการสอน (คณิตศาสตร์)
รวบรวม : นางสาววรัญญา สุโข
จากความสำคัญของคณิตศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่าคณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นการวิชาที่เกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างมีระบบและวิธีการ สามารถสร้างสรรค์คนให้มีนิสัยละเอียดสุขุมรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556
สัปดาห์ที่ 7 วันที่ 13 เดือนธันวาคม พ.ศ.2555
มาตรฐาน คือ สิ่งที่บ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือ ความมีคุณภาพ สิ่งที่เป็นแนวทางในการนำไปใช้งาน
กรอบมาตรฐาน
- สสวท. = สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงาน สสวท.ไม่มีชื่อของคณิตศาสตร์ แต่คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมิอตัวหนึ่งในการสือสาร
สื่อในการเรียนรู้
ภาษาและคณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมืนในการเรียนรู้ที่สามารถทำได้ด้วยสื่อ
สื่อในการเรียนรู้
ภาษาและคณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมืนในการเรียนรู้ที่สามารถทำได้ด้วยสื่อ
กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
- จำนวนและการดำเนินการ = เข้าใจความหลากหลายในการแสดงจำนวนหลายๆแบบ ได้แก่ การเขียน การพูด การนำตัวเลขมากำกับ เช่น การแสดงจำนวนด้วยตัวเลข การนับ การใช้สื่อ สามารถทำได้ตามระดับขั้นของการทดลองของนัทฤษฎีในแต่ละอายุของเด็ก
- การวัด = การหาค่า หาปริมาณ น้ำหนัก การตรวง โดยใช้เครื่องมือ
- เรขาคณิต = รูปทรง เช่น รูปทรงต่างๆ ได้แก่ รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมจตุรัจ
- พีชคคณิต = เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
- การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น(การศึกษาสิ่งที่ใหญ่ให้ย่อยออกมา) คือ การแยกแยะข้อมูลออกมาเป็นส่วนๆ แบ่งเป็นส่วนย่อยๆ
- ชนิด
- ลักษณะ
- ส่วนประกอบ
- ประโยชน์
- การถนอม
- ข้อควรระวัง(โทษ)
- สิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก
- สิ่งที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต สิ่งรอบตัว
- สิ่งที่มีผลกระทบกับตัวเรา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)